1. สภาพทั่วไป
1.1 ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ระยะห่างจากตัวอำเภอประมาณ
3 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ |
จดตำบลบึงอ้อ |
อำเภอขามทะเลสอ |
จังหวัดนครราชสีมา |
ทิศใต |
จดตำบลโค้งยาง,กุดจิก |
อำเภอสูงเนิน |
จังหวัดนครราชสีมา |
ทิศตะวันออก |
จดตำบลขามทะเลสอ |
อำเภอขามทะเลสอ |
จังหวัดนครราชสีมา |
ทิศตะวันตก |
จดตำบลโค้งยาง,โนนค่า |
อำเภอสูงเนิน |
จังหวัดนครราชสีมา |
1.2 เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง มีเนื้อที่ประมาณ 30.26 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,912 ไร่ แยกเป็นดังนี้
- พื้นที่นา |
ประมาณ 4,666 ไร่ |
- พื้นที่ไร |
ประมาณ 7,462 ไร่ |
- ไม้ผล |
ประมาณ 860 ไร่ |
- ไม้ยืนต้น |
ประมาณ 235 ไร่ |
- ไม้ดอก - ไม้ประดับ |
ประมาณ 45 ไร่ |
- ปลูกผัก, ไม้ล้มลุก |
ประมาณ 597 ไร่ |
- อื่น ๆ |
ประมาณ 5,060 ไร่ |
1.3 ภูมิประเทศ
พื้นที่ทางทิศใต้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง จะเป็นที่ราบลุ่ม มีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่าน(ลำตะคลอง) จำนวน 6 หมู่บ้าน
ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,3,6,7,8 มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี ส่วนพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางไปทางทิศเหนือของตำบล จะเป็นที่ดอนดินทรายปนกรวดขาด
ความอุดมสมบูรณ์ อาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ หากปีใดฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล จะทำให้พืชผลได้รับความเสียหายฤดูร้อนอากาศ
จะร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก ฤดูฝน ๆ ไม่ค่อยตกต้องตามฤดูกาล
1.4 จำนวนหมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน และอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 8 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 |
บ้านโป่งแดง |
พื้นที่ 1,643 ไร่ |
หมู่ที่ 2 |
บ้านโนน |
พื้นที่ 1,643 ไร่ |
หมู่ที่ 3 |
บ้านน้ำฉ่า |
พื้นที่ 1,460 ไร่ |
หมู่ที่ 4 |
บ้านโกรกกระหาด |
พื้นที่ 3,494 ไร่ |
หมู่ที่ 5 |
บ้านหนองม่วง |
พื้นที่ 2,624 ไร่ |
หมู่ที่ 6 |
บ้านโป่งบูรพา |
พื้นที่ 1,900 ไร่ |
หมู่ที่ 7 |
บ้านโป่งสุริยา |
พื้นที่ 2,340 ไร่ |
หมู่ที่ 8 |
บ้านน้ำฉ่าสายชล |
พื้นที่ 1,850 ไร่ |
1.5 ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง มีจำนวน 1,503 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 5,165 คน แยกเป็นชาย 2,521 คน หญิง 2,644 คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 170 คน/ตารางกิโลเมตร และแยกเป็นรายหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ที่ |
บ้าน |
ครัวเรือน |
ประชากรชาย |
ประชากรหญิง |
รวม |
หมู่ที่ 1 |
โป่งแดง |
109 |
186 |
196 |
382 |
หมู่ที่ 2 |
โนน |
264 |
512 |
565 |
1,077 |
หมู่ที่ 3 |
น้ำฉ่า |
131 |
212 |
215 |
427 |
หมู่ที่ 4 |
โกรกกระหาด |
168 |
347 |
336 |
683 |
หมู่ที่ 5 |
หนองม่วง |
178 |
224 |
239 |
463 |
หมู่ที่ 6 |
โป่งบูรพา |
182 |
270 |
323 |
593 |
หมู่ที่ 7 |
โป่งสรุริยา |
219 |
311 |
318 |
629 |
หมู่ที่ 8 |
น้ำฉ่าสายชล |
252 |
459 |
452 |
911 |
|
รวม |
1,503 |
2,521 |
2,644 |
5,165 |
2. สภาพทางเศรษฐกิจอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ เลี้ยงโคนม ทำไร่นาสวนผสม และปลูกผัก เป็นต้นการประกอบอาชีพ
เกษตรกรรมส่วนมากจะเพาะปลูกพืชประเภทเดิม ๆ เช่น พื้นที่เคยทำนาก็จะทำนาตลอด ไม่ค่อยปลูกพืชหมุนเวียนยกเว้นช่วงหน้าแล้งจะปลูกถั่วเขียว
ในแปลงนาเพื่อเป็นรายได้เสริม การผลิตจะผลิตแบบดั้งเดิมไม่ค่อยหาเทคนิค วิธีการเพิ่มผลผลิตแบบใหม่ ๆยกเว้นการใช้ปุ๋ยเคมีและปุยอินทรีย์ใน
การบำรุงดิน
2.1 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
- ร้านค้า |
32 แห่ง (จำหน่ายแก๊ส 9 แห่ง) |
|
- ปั๊มน้ำมัน(รวมปั้มหลอด) |
4 แห่ง |
|
- โรงสีข้าว |
5 แห่ง |
|
- สหกรณ์โคนม |
1 แห่ง |
|
- อู่ซ่อมรถยนต |
- แห่ง |
|
- ร้านเสริมสวย |
1 แห่ง |
|
- ฟาร์มเป็ดและฟาร์มไก |
7 แห่ง |
|
- ฟาร์มผสมอาหารสัตว์ |
1 แห่ง |
|
- โรงหล่อพระ |
1 แห่ง |
|
- ร้านผลิตยาโบราณ |
1 แห่ง |
|
-โรงผลิตน้ำดื่ม |
1 แห่ง |
|
- ลานมัน |
3 แห่ง |
|
3. สภาพทางสังคม
3.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน(ศรช.) 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 2 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด 5 แห่ง
- สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
- สภาวัฒนธรรมตำบล 1 แห่ง
3.3 สาธารณสุข
- สถานีอนามัย 1 แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.) 8 แห่ง
- ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สายตรวจประจำตำบล 4 นาย
- ถังดับเพลิงประจำหมู่บ้าน 9 ถัง
4. การบริการพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม
การเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอโดยภาพรวมแล้วมีความสะดวกเพราะมีรถโดยสารประจำทางจากตำบลถึงตัวอำเภอและจังหวัดวันละ
หลายเที่ยว ยกเว้นหมู่ที่ 4,5 ต้องเดินทางออกจากหมู่บ้านมาขึ้นรถโดยสารที่บ้านโนนและตัวอำเภอ
ถนนสายหลักมี 3 สาย คือ
-ถนนลาดยางสายขามทะเลสอ – บ้านโนน ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร สภาพชำรุดเป็นหลุม เป็นบ่อ
-ถนนลาดยางสายหนองคู – บ้านโป่งสุริยา ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพดี
-ถนนลูกรังสายบ้านโนน – โกรกกระหาด – หนองม่วง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร สภาพขรุขระ ฤดูฝนการสัญจรไปมา ลำบาก
4.2 การโทรคมนาคม
-โทรศัพท์พื้นฐาน มีจำนวน 5 หมู่บ้าน ยกเว้น หมู่ที่ 2,4,5 ยังไม่พอกับความต้องการ
-โทรศัพท์สาธารณะ มีจำนวน 6 หมู่บ้าน ยกเว้น หมู่ที่ 4,5
อย่างไรก็ตามในทุกหมู่บ้านจะมีโทรศัพท์มือถือหมู่บ้านละหลายเครื่อง หากมีเหตุจำเป็นสามารถติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้
4.3 การไฟฟ้า
-มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน(ที่อยู่อาศัย) ยกเว้นพื้นที่ทำการเกษตรที่ชาวบ้านไปสร้างที่พักบางแปลงยังไม่มีไฟฟ้าใช้
4.4 แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- คลองลำสมบูรณ์ มีน้ำตลอดปีไหลผ่านหมู่ที่ 2,7,1,6,3,8 ตามลำดับ
- คลองขอนตะคร่ำ (แยกจากคลองลำสมบูรณ์) มีน้ำตลอดปี ไหลผ่านหมู่ที่ 7
- คลองนางหงษ์ (ต่อจากคลองขอนตะคร่ำ) มีน้ำตลอดปี ไหลผ่านหมู่ที่ 1,6
- คลองสะพาน(แยกจากคลองลำสมบูรณ์) มีน้ำตลอดปี ไหลผ่านหมู่ที่ 2
- คลองน้อย(แยกจากคลองหงษ์) มีน้ำตลอดปี ไหลผ่านหมู่ที่ 1,6
- คลองโกรกกระหาด มีน้ำไม่ตลอดปี อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- คลองส่งน้ำชลประทาน ส่งน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ คือ หมู่ที่ 1,2,3,4,6,7,8
- สระน้ำ 14 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 5 แห่ง ครอบคลุม 8 หมู่บ้าน
- บ่อบาดาล 7 บ่อ
- อ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง
- ถังเก็บน้ำฝน 42 ถัง (รวมถังไฟเบอร์กลาส)
5. ข้อมูลอื่น ๆ
5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง
มีที่สาธารณประโยชน์ทั้งที่เป็นพื้นดินและแหล่งน้ำที่ได้สงวนหวงห้ามไว้(มีนสล.แล้วและอยู่ระหว่างการขอออก นสล.)
จำนวน 20 แปลง รวมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่
5.2 มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 200 คน
- อปพร. 2 รุ่น จำนวน 90 คน
6. ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. จำนวนบุคลากร จำนวน 25 คน ดังนี้
- ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
พนักงานส่วนตำบล จำนวน 6 คน
ลูกจ้างประจำ จำนวน - คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 1 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 4 คน
- ตำแหน่งในส่วนการคลัง
พนักงานส่วนตำบล จำนวน 2 คน
ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 2 คน
- ตำแหน่งในส่วนโยธา
พนักงานส่วนตำบล จำนวน 3 คน
ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 1 คน
- ตำแหน่งในส่วนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
พนักงานส่วนตำบล จำนวน 2 คน
ลูกจ้างประจำ จำนวน - คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 2 คน
2. ระดับการศึกษาของบุคลากร
- ปวช./ปวส. 10 คน
- ปริญญาตรี 12 คน
- ปริญญาโท 3 คน
3. รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
รายได้ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รวม 19,882,269 บาท แยกเป็น
- รายได้ที่ อบต. จัดเก็บเอง จำนวน 391,012 บาท
- รายได้ทีได้รับการจัดสรร จำนวน 9,704,316 บาท
- เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 9,786,941 บาท
- เงินรางวัลด้านการจัดเก็บภาษี จำนวน - บาท
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
1. การรวมกลุ่มของประชาชน ตำบลโป่งแดง มีการรวมกลุ่มที่สำคัญ ๆ ดังนี้
กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพที่สำคัญ ๆ ได้แก่
- กลุ่มผลิตเส้นหมี่น้ำฉ่า หมู่ที่ 3
- กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ หมู่ที่ 1,6,7
- กลุ่มร้านค้าชุมชน หมู่ที่ 1
- กลุ่มโรงสีข้าวชุมชน หมู่ที่ 7
- กลุ่มข้าวเกรียบผลไม้ หมู่ที่ 1
- กลุ่มเลี้ยงสุกร หมู่ที่ 8
- กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน หมู่ที่ 3
- กลุ่มทำนา หมู่ที่ 6,7
- กลุ่มขายของชำ หมู่ที่ 2
- กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หมู่ที่ 2
- กลุ่มปลูกผัก หมู่ที่ 4
- กลุ่มทำเฟอร์นิเจอร์จากรากไม้ หมู่ที่ 4
กลุ่มออมทรัพย์ มีทุกหมู่บ้าน
กลุ่ม อสม. มีทุกหมู่บ้าน
กลุ่มเยาวชน มีทุกหมู่บ้าน
กลุ่มผู้สูงอายุ มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุระดับตำบล
2.จุดเด่นของพื้นที่
พื้นที่ของตำบลโป่งแดง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีกลุ่มอาชีพ หลายกลุ่ม มีแหล่งวัตถุดิบในตำบลสินค้าจากจากชุมชนมีหลายประเภท การคมนาคมติดต่อกับอำเภอ จังหวัดสะดวกระยะห่างจากตำบลถึงตัว จังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางวิ่งวันละหลายเที่ยว
|